ประกันกลุ่ม Group Insurance
คืออะไร? มีแบบไหนบ้าง? ความคุ้มครอง?
ในปัจจุบันนี้ มีองค์กรและผู้ประกอบการมากมายที่มีพนักงาน ลูกจ้าง บุคลากรในองค์กร ประกันกลุ่มถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ดีของพนักงาน นอกจากพนักงานจะได้รับการคุ้มครองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อองค์กรด้วย ทั้งในด้านค่าใช้จ่าย ความน่าเชื่อถือ และความสัมพันธ์ขององค์กรและพนักงาน ในบทความนี้ เรา Pacific Care Hua Hin จะพาคุณทำความรู้จักกับกับประกันกลุ่มมากขึ้น ว่าประกันกลุ่มคืออะไร มีแบบไหนบ้าง ความคุ้มครองมีอะไรบ้าง พร้อมพาไปดูประโยชน์ของการทำประกันกลุ่มที่มีต่อพนักงานและผู้ประกอบการ
ประกันกลุ่มคืออะไร
คือการรับประกันภัย หลายบุคคลภายใต้กรมธรรม์เดียว โดยมีนายจ้างหรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย เรียกเอกสารที่ได้รับว่า กรมธรรม์ประกันภัยหลัก และมีพนักงานหรือสมาชิกที่อยุ่ภายใต้องค์กรนั้นเป็นผู้เอาประกันภัย เรียกเอกสารที่ได้รับว่า ใบรับรองการเอาประกันภัยหรือบัตรประกัน
ประกันกลุ่ม มีแบบไหนบ้าง
- ประกันชีวิตกลุ่ม (Group life Insurance)
ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายเงินเอาประกันภัยให้กับทายาทหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ ทีลูกจ้างได้ระบุไว้
เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)
- ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม (Accidental Death and Dismemberment Benefits)
ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะต่างๆ(เช่น แขน มือ เท้า สายตา) ที่เกิดจากอุบัติเหตุ และในบางกรณี และอาจมีเงินชดเชยให้สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันนั้นๆ
เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)
- ประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงกลุ่ม (Disability Insurance)
ให้ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ
เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)
- ประกันสุขภาพกลุ่ม (Group Medical Insurance)
คุ้มครองเกี่ยวกับค่าชดเชยและค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งจะคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน(IPD) และสามารถเลือกความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ อย่างเช่น ประกันสุขภาพกลุ่มที่มีผู้ป่วยนอก(OPD) หรือ ประกันสุขภาพกลุ่มที่มีการรักษาทันตกรรม การคลอดบุตร การรักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บสาหัส ฯลฯ
เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)
- ประกันเดินทางกลุ่ม (Group Travel Insurance)
คุ้มครองเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากการเดินทาง มีทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบางบริษัทที่คุ้มครองเรื่องเอกสารหรือกระเป๋าเดินทางหายอีกด้วย
เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)
กลุ่มธุรกิจที่พบเจอประกันกลุ่มบ่อยๆได้แก่
- บริษัท, ห้างร้าน, ธุรกิจขนาดย่อม SME
- สถาบันการเงิน
- นิคมอุตสาหกรรม
- สหกรณ์ออมทรัพย์
- กลุ่มธุรกิจโรงแรม
- สถาบันการศึกษาทุกระดับ
ประกันกลุ่มส่วนมากคุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง?
โดยส่วนใหญ่จะครอบคลุมการรักษา ทั้งกรณีที่เจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุ จะมีวงเงินค่ารักษา สำหรับแผนกผู้ป่วยใน (IPD) แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ทั้งนี้ วงเงินและการคุ้มครองต่างๆ จะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่เลือก และเงื่อนไขของกรมธรรม์
การทำประกันกลุ่มต้องมีสมาชิกขั้นต่ำกี่คน
ขึ้นอยู่กับประเภทประกันและความคุ้มครองที่เลือก
- ธุรกิจขนาดเล็ก 3-5 คนขึ้นไป
- ธุรกิจขนาด กลาง ใหญ่ 20-30 คนขึ้นไป
ประโยชน์ที่นายจ้างจะได้รับ จากการทำประกันภัยแบบกลุ่ม
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เนื่องจากการมอบสวัสดิการที่ดีให้แก่พนักงาน แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ ของความเป็นอยู่ของพนักงาน องค์กรมีความน่าเชื่อถือจากมุมมองของทั้งบุคคลและจากองค์กรภายนอก
- ดูแลพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำประกันกลุ่มให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยขึ้นมา พนักงานจะได้รับความคุ้มครองตามประกันกลุ่มที่เลือก พวกเขาสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงาน ทำให้สามารถทำงานได้เต็มที่ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง(พนักงาน) เพราะการทำประกันกลุ่ม เป็นการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่พนักงาน มีความสบายใจและความมั่นคงในการทำงาน
- ต้นทุนต่ำ แต่ผลประโยชน์สูงเมื่อเทียบกับการทำประกันภัยรายบุคคล และช่วยลดการเรียกร้องเงินช่วยเหลือ เมื่อลูกจ้างเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ
- ช่วยการวางแผนเงิน ด้วยอัตราเบี้ยประกันภัยที่แน่นอน ทางองค์กรหรือนายจ้างสามารถวางแผนทางการเงินได้ล่วงหน้าและสามารถคาดการณ์ต้นทุนรายปีในส่วนนี้ได้อย่างแม่นยำ
- สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือการลดหย่อนภาษีนั่นเอง โดยการนำค่าเบี้ยประกันภัยมาลดหย่อนภาษีเงินได้ของนิติบุคคลของบริษัทได้ เป็นหนึ่งในวิธีการลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทนั่นเอง
- สำหรับธุรกิจหรือบริษัทที่กำลังขยายกิจการ การมีประกันภัยแบบกลุ่มหรือสวัสดีการที่ดี เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ใครหลายคนเลือกทำงานกับองค์กรหรือบริษัทนั้นๆ จะช่วยให้บริษัทมีความน่าสนใจและสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถข้ามาร่วมงานกับบริษัทมากขึ้นด้วย
ประโยชน์ที่ลูกจ้าง/พนักงาน จะได้รับจากการมีประกันภัยแบบกลุ่ม
- สร้างหลักประกันการได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย โดยมีหลักประกันที่มั่นคง
- ได้รับความคุ้มครองจากแผนประกันภัยที่นายจ้างเลือกให้ ทำให้สมารถมีความสุข ความสบายใจในการทำงานมากขึ้น
- คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากต้องออกค่าใช้จ่ายเองในการรักษา หลายท่านอาจะเลือกที่จะพยายามรักษาด้วยตัวเองหรือรอให้หายป่วยเอง มากกว่าการหาหมอเพื่อรักษาให้หายทันทีด้วยวิธีที่ถูกต้อง แต่การทำประกันภัย จะช่วยให้ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ก่อนที่อาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น ลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคร้ายแรง ได้มากขึ้น
- ลดภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะกรณีที่บริษัททำประกันอุบัติเหตุกลุ่ม ประกันสุขภาพกลุ่ม หรือแผนอื่นๆที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เวลาเกิดอุบัติเหตุหรือมีการเจ็บป่วย จะไม่ต้องมาคอยกังวลใจกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบค่ารักษาเต็มจำนวนด้วยตนเอง
- กรณีลูกจ้างเสียชีวิต ทางครอบครัวหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ จะได้รับเงินชดเชย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
มีการพิจารณารับประกันและเบี้ยประกันกลุ่มจากอะไรบ้าง
พิจารณารับประกันจากความเสี่ยงของบุคคลทั้งกลุ่มโดยเฉลี่ยได้แก่ ระดับขั้นอาชีพ ช่วงอายุ เพศ หน้าที่การงาน และ จำนวนเงินเอาประกัน โดยคำนวณเบี้ยประกัน ออกมาเป็นอัตราเบี้ยประกันเพียงอัตราเดียวและใช้กับทุกคนในกลุ่ม ทำให้ค่าใช้จ่ายการทำประกันลดลง และมีผลให้เบี้ยประกันโดยรวมต่ำกว่าประกันชีวิตรายบุคคล โดยพนักงานต้องเป็นพนักงานประจำ และมีอายุระหว่าง 15-65 ปี ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับประกันกลุ่มที่เลือก อาจมีเงื่อนไขนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา
สิ่งที่ต้องเตรียม-เอกสารประกอบการสมัคร ที่มักพบเจอได้บ่อยๆ
- กรอกแบบฟอร์ม หรือใบสมัคร นายจ้างลงนามให้เรียบร้อยพร้อมประทับตรา (ถ้ามี)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้าเป็นนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประชาชนของพนักงาน
- ใบสรุปรายละเอียดพนักงาน ได้แก่ อายุ ตำแหน่ง
ใครเป็นผู้รับผิดชอบการชำระเบี้ยประกันภัย
นายจ้าง องค์กร ผู้ประกอบการ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่ารู้
ในกระบวนการพิจารณารับประกัน โดยทั่วไปจำเป็นต้องทราบระดับความเสี่ยงภัยของธุรกิจด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับดังนี้ต่อไปนี้ โดยบริษัทประกันส่วนใหญ่จะรับไม่เกินขั้น3
ระดับอาชีพขั้น 1
ลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยในระดับต่ำหรือน้อยสุดนั่นเอง ได้แก่ งานที่ประกอบอาชีพภายในสำนักงาน งานด้านบริการ การจัดการ บริการด้านคอมพิวเตอร์ งานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานเครื่องจักร (พนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร - ออกแบบกราฟฟิก -แคดี้สนามกอล์ฟ - เจ้าหน้าที่ออกตั๋ว - เจ้าหน้าที่ธุรการ- ครู - อาจารย์ เป็นต้น)
ระดับอาชีพขั้น 2
ลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยในระดับปานกลาง ส่วนมากจะเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความชำนาญและทักษะ หรือทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา ได้แก่ งานที่ประกอบอาชีพในและนอกสถานที่ งานด้านการขาย งานด้านอุตสาหกรรมขนาดเบา (วิศวกร คนสวนทำนาทั่วไป ช่างเจียระไนและขัดหิน - ซักรีด - ไกด์นำเที่ยว- ขาย/ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ -ช่างรถยนต์หรือจักรยานยนต์ - ช่างเสริมสวยในบริษัท เจ้าหน้าที่การตลาด - ช่างถ่ายภาพ สถาปนิก - ช่างไม้ เจ้าของกิจการขนาดเล็ก - ตัวแทน/นายหน้า เป็นต้น)
ระดับอาชีพขั้น 3
ลักษณะการประกอบธุรกิจที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเสี่ยง ได้แก่ ลักษณะงานที่มีเครื่องจักรมาเกี่ยวข้อง กระบวนการผลิตที่มีการใช้เครื่องจักรกล หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ โดยความเสี่ยงลักษณะนี้บางบริษัทจะมีการเพิ่มเบี้ยประกัน หรือบางบริษัทก็จะไม่มีแผนความคุ้มครองให้ ( ฝ่ายการผลิตปูนซิเมนต์,ติดตั้งท่อ คลังสินค้า - อุตสาหกรรมห้องเย็น - การผลิตยานยนต์ เป็นต้น)
ระดับอาชีพขั้น 4
ลักษณะการประกอบธุรกิจที่อยู่ในระดับที่ทีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด มีความเสี่ยงสูงมากกว่าอาชีพอื่นๆเป็นพิเศษ โดยความเสี่ยงลักษณะนี้บางบริษัทจะมีการเพิ่มเบี้ยประกันสูงตามความเสี่ยง หรือสูงกว่าทุกขั้นอาชีพนั่นเอง ซึ่งบางบริษัทก็จะไม่มีแผนความคุ้มครองให้ (นักแสดงพาดโผน คนงานก่อสร้าง พนักงานเช็ดกระจกอาคารสูง เจ้าหน้าที่ขุดเจาะแท่นสำรจท่อน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ- เจ้าหน้าที่กู้ภัย/หนักงานดับเพลิง ช่างยนต์- ลูกเรือประมง เจ้าหน้าที่ซ่อมอุปกรณ์ใต้น้ำ - ช่างฝ่ายเหชื่อมเหล็กด้วยไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ขนส่งสารเคมี ฉีดยากำจัดปลวก ช่างผลิตภัณฑ์แผ่นโลหะ, เชื่อมเหล็ก,ตัดเหล็ก,เลื่อยเหล็ก - นักบินหรือพนักงานบนเครื่องบิน -พนักงานรักษาความปลอดภัย - การบริการแก๊สหุงต้ม เป็นต้น)
บริษัทส่วนใหญ่จะไม่รับประกันภัยในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ที่ไม่ได้อยู่บนบก ขึ้นที่สูงมาจากพื้นดิน ลงใต้ดิน ออกนอกชายฝั่งแม่น้ำหรือทะเล เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดหรือสารเคมีติดไฟได้ น้ำมันและแก๊ส หรือธุรกิจที่ใช้เครื่องจักรหนัก สัตว์อันตราย ธุรกิจติดตั้งและซ่อมแซมที่ต้องขึ้นอาคารสูง ไฟฟ้าแรงสูง โรงงานปรมาณู ขุดเจาะน้ำมัน ผลิตถ่าน เป็นต้น
โรงพยาบาลเครือข่าย
เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ควรศึกษาก่อนทำประกันกลุ่มต่างๆ คือ การตรวจเชครายชื่อโรงพยาบาลที่ เข้าร่วมในเครือข่ายประกันภัยกลุ่มต่างๆที่เราจะซื้อ ในกรณีที่วันใดวันหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การที่ผู้ได้รับบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง และพบแพทย์ได้อย่างทันที
อายุของพนักงาน
เกณฑ์ของอายุของพนักงานอยู่ระหว่าง 15-65 ปี
สัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่ม 48 (ALLIANZ)
นอกจากประกันกลุ่มทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ยังมีอีก1ประกันที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ คือประกันกลุ่มที่คุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่ม 48
อันดับ 5โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค ปอดอักเสพ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคต่อมไร้ท่อ กลุ่มเบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต - โรคจากการดื่มแอลกอฮอล์
หมายเหตุ หากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ทางประกันจะจ่ายผลประโยชน์ (โรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น) และ เมื่อมีการจ่ายเงินผลประโยชน์แล้ว สัญญาเพิ่มเติมนี้จะสิ้นผลบังคับทันที
ข้อยกเว้นที่พบเจอบ่อยๆได้แก่
ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันชีวิตกลุ่ม ทางบริษัทประกันภัยจะไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อปรากฏว่า
- สมาชิกฆ่าตัวตาย (การทำอัตวินิบาตกรรม) ด้วยใจสมัครภายใน1ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าร่วมประกันภัย
- สมาชิกผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยโดยเจตนา
- พ้นสภาพการเป็นพนักงาน
แผนประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มแบบ เลือกแผนความคุ้มครองเฉพาะ
ธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือคลินิก ซึ่งมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทางการแพทย์ ได้แก่ พยาบาล แพทย์ หรือ อื่นๆที่คล้ายคลึงกัน จะมีแผนความคุ้มครองเฉพาะ ประเภทแผนประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม แบบไม่มีค่ารักษาพยาบาล (Without ME)