แชร์

ประกันกลุ่ม คืออะไร? มีแบบไหนบ้าง? ความคุ้มครอง?

อัพเดทล่าสุด: 11 ก.ค. 2024
623 ผู้เข้าชม
ประกันกลุ่ม คืออะไร? มีแบบไหนบ้าง? ความคุ้มครอง?

ประกันกลุ่ม Group Insurance

คืออะไร? มีแบบไหนบ้าง? ความคุ้มครอง?

ในปัจจุบันนี้ มีองค์กรและผู้ประกอบการมากมายที่มีพนักงาน ลูกจ้าง บุคลากรในองค์กร ประกันกลุ่มถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ดีของพนักงาน นอกจากพนักงานจะได้รับการคุ้มครองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อองค์กรด้วย ทั้งในด้านค่าใช้จ่าย ความน่าเชื่อถือ และความสัมพันธ์ขององค์กรและพนักงาน ในบทความนี้ เรา Pacific Care Hua Hin จะพาคุณทำความรู้จักกับกับประกันกลุ่มมากขึ้น ว่าประกันกลุ่มคืออะไร มีแบบไหนบ้าง ความคุ้มครองมีอะไรบ้าง พร้อมพาไปดูประโยชน์ของการทำประกันกลุ่มที่มีต่อพนักงานและผู้ประกอบการ

ประกันกลุ่มคืออะไร

คือการรับประกันภัย หลายบุคคลภายใต้กรมธรรม์เดียว โดยมีนายจ้างหรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย เรียกเอกสารที่ได้รับว่า กรมธรรม์ประกันภัยหลัก และมีพนักงานหรือสมาชิกที่อยุ่ภายใต้องค์กรนั้นเป็นผู้เอาประกันภัย  เรียกเอกสารที่ได้รับว่า ใบรับรองการเอาประกันภัยหรือบัตรประกัน

ประกันกลุ่ม มีแบบไหนบ้าง

- ประกันชีวิตกลุ่ม (Group life Insurance)

ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายเงินเอาประกันภัยให้กับทายาทหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ ทีลูกจ้างได้ระบุไว้

เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)

- ประกันอุบัติเหตุกลุ่ม (Accidental Death and Dismemberment Benefits)

ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะต่างๆ(เช่น แขน มือ เท้า สายตา) ที่เกิดจากอุบัติเหตุ และในบางกรณี และอาจมีเงินชดเชยให้สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันนั้นๆ

เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)

- ประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงกลุ่ม (Disability Insurance)

ให้ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ

เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)

- ประกันสุขภาพกลุ่ม (Group Medical Insurance)

คุ้มครองเกี่ยวกับค่าชดเชยและค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ซึ่งจะคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน(IPD) และสามารถเลือกความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ อย่างเช่น ประกันสุขภาพกลุ่มที่มีผู้ป่วยนอก(OPD) หรือ ประกันสุขภาพกลุ่มที่มีการรักษาทันตกรรม การคลอดบุตร การรักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บสาหัส ฯลฯ

เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)

- ประกันเดินทางกลุ่ม (Group Travel Insurance)

คุ้มครองเกี่ยวกับการได้รับอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยจากการเดินทาง มีทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบางบริษัทที่คุ้มครองเรื่องเอกสารหรือกระเป๋าเดินทางหายอีกด้วย

เพิ่มเติมสำหรับประกันนี้ สามารถคลิ๊กที่ลิงค์นี้(.............)

 

กลุ่มธุรกิจที่พบเจอประกันกลุ่มบ่อยๆได้แก่

-      บริษัท, ห้างร้าน, ธุรกิจขนาดย่อม SME

-      สถาบันการเงิน

-      นิคมอุตสาหกรรม

-      สหกรณ์ออมทรัพย์

-      กลุ่มธุรกิจโรงแรม

-      สถาบันการศึกษาทุกระดับ

 

ประกันกลุ่มส่วนมากคุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง?

โดยส่วนใหญ่จะครอบคลุมการรักษา ทั้งกรณีที่เจ็บป่วยและเกิดอุบัติเหตุ จะมีวงเงินค่ารักษา สำหรับแผนกผู้ป่วยใน (IPD) แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ทั้งนี้ วงเงินและการคุ้มครองต่างๆ จะขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่เลือก และเงื่อนไขของกรมธรรม์

การทำประกันกลุ่มต้องมีสมาชิกขั้นต่ำกี่คน

ขึ้นอยู่กับประเภทประกันและความคุ้มครองที่เลือก

- ธุรกิจขนาดเล็ก 3-5 คนขึ้นไป

- ธุรกิจขนาด กลาง ใหญ่ 20-30 คนขึ้นไป

ประโยชน์ที่นายจ้างจะได้รับ จากการทำประกันภัยแบบกลุ่ม

-      สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร เนื่องจากการมอบสวัสดิการที่ดีให้แก่พนักงาน แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ ของความเป็นอยู่ของพนักงาน องค์กรมีความน่าเชื่อถือจากมุมมองของทั้งบุคคลและจากองค์กรภายนอก

-      ดูแลพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เมื่อทำประกันกลุ่มให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยขึ้นมา พนักงานจะได้รับความคุ้มครองตามประกันกลุ่มที่เลือก พวกเขาสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงาน ทำให้สามารถทำงานได้เต็มที่ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

-      สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง(พนักงาน) เพราะการทำประกันกลุ่ม เป็นการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่พนักงาน มีความสบายใจและความมั่นคงในการทำงาน

-      ต้นทุนต่ำ แต่ผลประโยชน์สูงเมื่อเทียบกับการทำประกันภัยรายบุคคล และช่วยลดการเรียกร้องเงินช่วยเหลือ เมื่อลูกจ้างเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือทุพพลภาพ

-      ช่วยการวางแผนเงิน ด้วยอัตราเบี้ยประกันภัยที่แน่นอน ทางองค์กรหรือนายจ้างสามารถวางแผนทางการเงินได้ล่วงหน้าและสามารถคาดการณ์ต้นทุนรายปีในส่วนนี้ได้อย่างแม่นยำ

-      สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือการลดหย่อนภาษีนั่นเอง โดยการนำค่าเบี้ยประกันภัยมาลดหย่อนภาษีเงินได้ของนิติบุคคลของบริษัทได้ เป็นหนึ่งในวิธีการลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทนั่นเอง

-      สำหรับธุรกิจหรือบริษัทที่กำลังขยายกิจการ การมีประกันภัยแบบกลุ่มหรือสวัสดีการที่ดี เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ใครหลายคนเลือกทำงานกับองค์กรหรือบริษัทนั้นๆ จะช่วยให้บริษัทมีความน่าสนใจและสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถข้ามาร่วมงานกับบริษัทมากขึ้นด้วย

 

ประโยชน์ที่ลูกจ้าง/พนักงาน จะได้รับจากการมีประกันภัยแบบกลุ่ม

-      สร้างหลักประกันการได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัย โดยมีหลักประกันที่มั่นคง

-      ได้รับความคุ้มครองจากแผนประกันภัยที่นายจ้างเลือกให้ ทำให้สมารถมีความสุข ความสบายใจในการทำงานมากขึ้น

-      คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากต้องออกค่าใช้จ่ายเองในการรักษา หลายท่านอาจะเลือกที่จะพยายามรักษาด้วยตัวเองหรือรอให้หายป่วยเอง มากกว่าการหาหมอเพื่อรักษาให้หายทันทีด้วยวิธีที่ถูกต้อง แต่การทำประกันภัย จะช่วยให้ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ก่อนที่อาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น ลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคร้ายแรง ได้มากขึ้น

-      ลดภาระค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะกรณีที่บริษัททำประกันอุบัติเหตุกลุ่ม ประกันสุขภาพกลุ่ม หรือแผนอื่นๆที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ เวลาเกิดอุบัติเหตุหรือมีการเจ็บป่วย จะไม่ต้องมาคอยกังวลใจกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบค่ารักษาเต็มจำนวนด้วยตนเอง

-      กรณีลูกจ้างเสียชีวิต ทางครอบครัวหรือผู้ได้รับผลประโยชน์ จะได้รับเงินชดเชย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

มีการพิจารณารับประกันและเบี้ยประกันกลุ่มจากอะไรบ้าง

พิจารณารับประกันจากความเสี่ยงของบุคคลทั้งกลุ่มโดยเฉลี่ยได้แก่ ระดับขั้นอาชีพ ช่วงอายุ เพศ หน้าที่การงาน และ จำนวนเงินเอาประกัน โดยคำนวณเบี้ยประกัน ออกมาเป็นอัตราเบี้ยประกันเพียงอัตราเดียวและใช้กับทุกคนในกลุ่ม ทำให้ค่าใช้จ่ายการทำประกันลดลง และมีผลให้เบี้ยประกันโดยรวมต่ำกว่าประกันชีวิตรายบุคคล โดยพนักงานต้องเป็นพนักงานประจำ และมีอายุระหว่าง 15-65 ปี ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับประกันกลุ่มที่เลือก อาจมีเงื่อนไขนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมา

สิ่งที่ต้องเตรียม-เอกสารประกอบการสมัคร ที่มักพบเจอได้บ่อยๆ

-      กรอกแบบฟอร์ม หรือใบสมัคร นายจ้างลงนามให้เรียบร้อยพร้อมประทับตรา (ถ้ามี)

-      สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้าเป็นนิติบุคคล

-      สำเนาบัตรประชาชนของพนักงาน

-      ใบสรุปรายละเอียดพนักงาน ได้แก่ อายุ ตำแหน่ง

ใครเป็นผู้รับผิดชอบการชำระเบี้ยประกันภัย

นายจ้าง องค์กร ผู้ประกอบการ

ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่ารู้

ในกระบวนการพิจารณารับประกัน โดยทั่วไปจำเป็นต้องทราบระดับความเสี่ยงภัยของธุรกิจด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ระดับดังนี้ต่อไปนี้ โดยบริษัทประกันส่วนใหญ่จะรับไม่เกินขั้น3

ระดับอาชีพขั้น 1

ลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยในระดับต่ำหรือน้อยสุดนั่นเอง ได้แก่ งานที่ประกอบอาชีพภายในสำนักงาน งานด้านบริการ การจัดการ บริการด้านคอมพิวเตอร์ งานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานเครื่องจักร (พนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร - ออกแบบกราฟฟิก -แคดี้สนามกอล์ฟ - เจ้าหน้าที่ออกตั๋ว - เจ้าหน้าที่ธุรการ- ครู - อาจารย์  เป็นต้น)


ระดับอาชีพขั้น 2

ลักษณะการประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงภัยในระดับปานกลาง ส่วนมากจะเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความชำนาญและทักษะ หรือทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา ได้แก่ งานที่ประกอบอาชีพในและนอกสถานที่ งานด้านการขาย งานด้านอุตสาหกรรมขนาดเบา  (วิศวกร คนสวนทำนาทั่วไป ช่างเจียระไนและขัดหิน - ซักรีด - ไกด์นำเที่ยว- ขาย/ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ -ช่างรถยนต์หรือจักรยานยนต์ - ช่างเสริมสวยในบริษัท เจ้าหน้าที่การตลาด - ช่างถ่ายภาพ สถาปนิก - ช่างไม้ เจ้าของกิจการขนาดเล็ก - ตัวแทน/นายหน้า เป็นต้น)

ระดับอาชีพขั้น 3

ลักษณะการประกอบธุรกิจที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างเสี่ยง ได้แก่ ลักษณะงานที่มีเครื่องจักรมาเกี่ยวข้อง กระบวนการผลิตที่มีการใช้เครื่องจักรกล หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ โดยความเสี่ยงลักษณะนี้บางบริษัทจะมีการเพิ่มเบี้ยประกัน หรือบางบริษัทก็จะไม่มีแผนความคุ้มครองให้ ( ฝ่ายการผลิตปูนซิเมนต์,ติดตั้งท่อ คลังสินค้า - อุตสาหกรรมห้องเย็น - การผลิตยานยนต์ เป็นต้น)

ระดับอาชีพขั้น 4

ลักษณะการประกอบธุรกิจที่อยู่ในระดับที่ทีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุด มีความเสี่ยงสูงมากกว่าอาชีพอื่นๆเป็นพิเศษ โดยความเสี่ยงลักษณะนี้บางบริษัทจะมีการเพิ่มเบี้ยประกันสูงตามความเสี่ยง หรือสูงกว่าทุกขั้นอาชีพนั่นเอง ซึ่งบางบริษัทก็จะไม่มีแผนความคุ้มครองให้ (นักแสดงพาดโผน คนงานก่อสร้าง พนักงานเช็ดกระจกอาคารสูง เจ้าหน้าที่ขุดเจาะแท่นสำรจท่อน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ- เจ้าหน้าที่กู้ภัย/หนักงานดับเพลิง ช่างยนต์- ลูกเรือประมง เจ้าหน้าที่ซ่อมอุปกรณ์ใต้น้ำ - ช่างฝ่ายเหชื่อมเหล็กด้วยไฟฟ้า เจ้าหน้าที่ขนส่งสารเคมี ฉีดยากำจัดปลวก ช่างผลิตภัณฑ์แผ่นโลหะ, เชื่อมเหล็ก,ตัดเหล็ก,เลื่อยเหล็ก - นักบินหรือพนักงานบนเครื่องบิน -พนักงานรักษาความปลอดภัย - การบริการแก๊สหุงต้ม เป็นต้น)
 
บริษัทส่วนใหญ่จะไม่รับประกันภัยในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ที่ไม่ได้อยู่บนบก ขึ้นที่สูงมาจากพื้นดิน ลงใต้ดิน ออกนอกชายฝั่งแม่น้ำหรือทะเล เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดหรือสารเคมีติดไฟได้ น้ำมันและแก๊ส หรือธุรกิจที่ใช้เครื่องจักรหนัก สัตว์อันตราย ธุรกิจติดตั้งและซ่อมแซมที่ต้องขึ้นอาคารสูง ไฟฟ้าแรงสูง โรงงานปรมาณู ขุดเจาะน้ำมัน ผลิตถ่าน เป็นต้น

โรงพยาบาลเครือข่าย

เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ควรศึกษาก่อนทำประกันกลุ่มต่างๆ คือ การตรวจเชครายชื่อโรงพยาบาลที่ เข้าร่วมในเครือข่ายประกันภัยกลุ่มต่างๆที่เราจะซื้อ ในกรณีที่วันใดวันหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมา สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การที่ผู้ได้รับบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง และพบแพทย์ได้อย่างทันที

 อายุของพนักงาน

เกณฑ์ของอายุของพนักงานอยู่ระหว่าง 15-65 ปี

สัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่ม 48 (ALLIANZ)

นอกจากประกันกลุ่มทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ยังมีอีก1ประกันที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการ คือประกันกลุ่มที่คุ้มครองโรคร้ายแรงกลุ่ม 48

อันดับ 5โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค ปอดอักเสพ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคต่อมไร้ท่อ กลุ่มเบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต - โรคจากการดื่มแอลกอฮอล์

หมายเหตุ หากผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ทางประกันจะจ่ายผลประโยชน์ (โรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น) และ เมื่อมีการจ่ายเงินผลประโยชน์แล้ว สัญญาเพิ่มเติมนี้จะสิ้นผลบังคับทันที

ข้อยกเว้นที่พบเจอบ่อยๆได้แก่

ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันชีวิตกลุ่ม ทางบริษัทประกันภัยจะไม่จ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อปรากฏว่า

-      สมาชิกฆ่าตัวตาย (การทำอัตวินิบาตกรรม) ด้วยใจสมัครภายใน1ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าร่วมประกันภัย

-      สมาชิกผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันภัยโดยเจตนา

-      พ้นสภาพการเป็นพนักงาน

แผนประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มแบบ เลือกแผนความคุ้มครองเฉพาะ

ธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือคลินิก ซึ่งมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอาชีพทางการแพทย์ ได้แก่ พยาบาล แพทย์ หรือ อื่นๆที่คล้ายคลึงกัน จะมีแผนความคุ้มครองเฉพาะ ประเภทแผนประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม แบบไม่มีค่ารักษาพยาบาล (Without ME)

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy